การอบรมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง "เทคนิคการประเมินคุณภาพอาหาร ประสิทธิภาพการย่อย และการเจริญเติบโตของสัตว์"
In vitro techniques for prediction of feed quality, digestibiligy and growth performance in animals
จัดโดย
ภาควิชาชีวเคมี ภาควิชาสัตววิทยา และคณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ร่วมกับ
มหาวิทยาลัยบูรพา
และ
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

13 - 16 ตุลาคม 2546
ณ.ห้องสัมมนา 202 ชั้น 2 และห้องปฏิบัติการชีวเคมีชั้น 7
อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

1. หลักการและเหตุผล
2. วัตถุประสงค์
3. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
4. ผู้เข้ารับการอบรม
5. จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
6. การลงทะเบียน
7. อัตราค่าลงทะเบียน
8. กำหนดการอบรม
9. แบบฟอร์มการลงทะเบียน
10. ต้องการสำรองห้องพัก

หลักการและเหตุผล
ตามที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้ประเทสไทยก้าวไปสู่การเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารสำหรับประชากรโลกในอนาคต
อุตสาหกรรม การผลิตสัตว์จึงควรได้รับการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลผลิต อาหารสัตว์นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิต และการลดต้นทุน การผลิตอย่างมาก แต่ปัญหาที่สำคัญของการเลี้ยงสัตว์หลายชนิด พบว่ายังขาดข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับ ความต้องการ สารอาหารที่แท้จริง และความสามารถในการใช้ประโยชน์ จากวัตถุดิบของสารอาหารชนิดต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดการสูญเปล่า หากใช้สารอาหารที่สัตว์ไม่สามารถ ใช้ประโยขน์ได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะสัตว์ในแต่ละวัยมีความต้องการ สารอาหารที่แตกต่างกัน จึงต้องมีการทดลองเลี้ยงสัตว์ เพื่อคัดเลือก วัตถุดิบของสารอาหารและสูตรอาหารที่เหมาะสม ซึ่งในทางปฏิบัติแม้จะเป็นสิ่งจำเป็นแต่มีขั้นตอนวิธีการที่ยุ่งยาก ใช้เวลานานและ มีค่าใช้จ่ายสูง และที่สำคัญถ้าอาหารที่ใช้เลี้ยงไม่เหมาะสม ก็จะส่งผลต่อการพัฒนาไปเป็นตัวเต็มวัย อัตราการรอดตายและการเจริญเติบโต ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคนิคทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งสามารถใช้เป็นวิธีการเบื้องต้นสำหรับการประเมินคุณภาพวัตถุดิบอาหารสัตว์ ประสิทธิภาพ การย่อย รวมถึงประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร และการเจริญเติบโตของสัตว์ ซึ่งเทคนิคดังกล่าวมีข้อดีหลายประการคือ มีความสะดวก ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ที่สำคัญใช้เวลาสั้นและค่าใช้จ่ายไม่แพง และข้อมูลที่ได้ทำให้สามารถเลือกใช้วัตถุดิบที่สัตว์สามารถ ใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาสูตรอาหารที่เหมาะสมกับศักยภาพการย่อยอาหารของสัตว์ จึงนับเป็นวิธีการที่มี ประโยชน์สมควรได้รับการเผยแพร่สนับสนุนให้มีการใช้อย่างกว้างขวาง เพื่อส่งเสริมพัฒนาการผลิตสัตว์ในเชิงอุตสาหกรรม ของประเทศต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคทางห้องปฏิบัติการในการประเมินคุณภาพอาหาร ประสิทธิภาพการย่อยของสัตว์ และเทคนิคที่ใช้ชี้วัดอัตราการเจริญเติบโตของสัตว์ แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงและการพัฒนาสูตรอาหารสัตว์ เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสม
2. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างบุคลากรฝ่ายวิชาการและฝ่ายปฏิบัติการในการระดมความรู้ความเชี่ยวชาญมา ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาการผลิตสัตว์ของประเทศไทย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้เทคนิคทางห้องปฏิบัติการในการประเมินคุณภาพอาหาร ประสิทธิภาพการย่อยอาหาร และติดตามอัตราการเจริญเติบโตของสัตว์
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติจริง
3. ผู้เข้าอบรมมีโอกาสทำความรู้จัก แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ซึ่งอาจนำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในเชิงวิชาการและการพัฒนาวิชาชีพต่อไป
ผู้เข้ารับการอบรม
อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และบุคลากรด้านการเพาะเลี้ยงและอาหารสัตว์ทั้งในภาคราชการและหน่วยงานเอกชน และผู้สนใจทั่วไป
จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ภาคบรรยาย
ภาคบรรยายและปฏิบัติ
50 คน
20 คน
การลงทะเบียน

ผู้สนใจเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ "In vitro techniques for prediction of feed quality, digestibility and growth performance in animals" สามารถขออนุมัติเข้าร่วมการประชุมโดยไม่ถือเป็นวันลา และมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ได้ตามระเบียบราชการ
กรุณาแจ้งความจำนงเข้ารับการอบรมล่วงหน้า โดยกรอกข้อความลงในแบบฟอร์มลงทะเบียน และส่งคืนภายในวันที่ 26 กันยายน 2546 พร้อมหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนล่วงหน้า

ส่งแบบฟอร์มลงทะเบียนและติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมที่
ผศ.ดร. จินดาวรรณ สิรันทวิเนติ
ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม. เกษตรศาสตร์
50 ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 0-2579-5994, 0-2579-1022, 0-2942-8393, 0-2942-8379
โทรสาร 0-2942-8695
E-mail address:- fscijws@ku.ac.th

อัตราค่าลงทะเบียน
เฉพาะภาคบรรยาย
- ภายในวันที่ 26 กันยายน 2546
- หลังวันที่ 26 กันยายน 2546
600 บาท
800 บาท
                 
บรรยายและปฏิบัติการ
- ภายในวันที่ 26 กันยายน 2546
- หลังวันที่ 26 กันยายน 2546
2,500 บาท
3,000 บาท
ค่าลงทะเบียนนี้รวมค่าเอกสารประกอบการอบรม อาหารกลางวัน และอาหารว่างระหว่างการประชุม
กำหนดการอบรม
บรรยายเป็นภาษาไทยตลอดการอบรม
13 ตุลาคม 2546
08:30-09:15 น. ลงทะเบียนและพิธีเปิดการอบรม
09:15-10:15 น. บรรยาย 1 : Fertilization and growth : overview
10:45-11:45 น. บรรยาย 2 : In vitro digestibility method for preliminary test of feed quality
13.00-14:30 น. บรรยาย 3: Trypsin specific activity and protease ratio of trypsin to chymotrypsin as indicators for digestive efficiency and growth
14:45 -16:30 น. บรรยาย 4 : Muscle growth and muscle quality : RNA, RNA/protein ratio, free hydroxyproline, ratio of essential to non-essential free amino acids, -SH group and -S-S- bond
14 ตุลาคม 2546
08:30-09:00 น. Laboratory overview
09:00-12:00 น. Workshop I : In vitro digestibility method
13:00-16:30 น. Workshop II : Digestive efficiency study
15 ตุลาคม 2546
08:30-09:00 น. Laboratory overview
09:00-10:30 น. Workshop I : In vitro digestibility method (continued)
10:45-15:45 น. Workshop III: Muscle growth and muscle quality study
15:45-16:45 น. Workshop IV: Analysis of white muscle free amino acids
16 ตุลาคม 2546
08:30-09:30 น. Calculation of in vitro digestibility value and results
09:30-10:30 น. Calculation of trypsin /chymotrpysin activities and results
10:45-12:00 น. Calculation of RNA, protein and free amino acids contents and results
13:00 -16:00 น. Result and discussion of all data
16:00 -16:30 น. Overall conclusion
16:30 น. พิธีปิดการอบรมและรับประกาศนียบัตร
แบบฟอร์มการลงทะเบียน
แบบฟอร์มการลงทะเบียน
การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง
"เทคนิคการประเมินคุณภาพอาหาร ประสิทธิภาพการย่อย และการเจริญเติบโตของสัตว์"
(In vitro techniques for prediction of feed quality, digestibility and growth performance in animals)
(กรุณาพิมพ์หรือเขียนตัวบรรจงให้ชัดเจน)/(ถ่ายเอกสารได้)
ชื่อ_สกุล (นาย/นาง/นางสาว/ศ./รศ./ผศ./ดร.)
.......................................................................................................................
ตำแหน่ง..........................................................................................................
สถานที่ติดต่อ................................................................................................... .......................................................................................................................
โทรศัพท์..................................................โทรสาร............................................
E-mail address..........................................................................................

จ่ายค่าลงทะเบียนล่วงหน้าจำนวน
เฉพาะภาคบรรยายคนละ 600 บาท (ก่อน 26ก.ย. 2546)
เฉพาะภาคบรรยายคนละ 800 บาท (หลัง 26ก.ย. 2546)
บรรยายและปฏิบัติการคนละ 2,500 บาท (ก่อน 26ก.ย. 2546)
บรรยายและปฏิบัติการคนละ 3,000 บาท (หลัง 26 ก.ย. 2546)

โดยธนาณัติเลขที่................................................. สั่งจ่าย ปณ.ย่อยมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ในนาม ผศ.ดร. จินดาวรรณ สิรันทวิเนติ
ลงชื่อ.....................................................................................................
วันที่......................................................................................................

กรุณาส่งใบสมัครและหลักฐานการส่งเงินมายังผศ.ดร.จินดาวรรณสิรันทวิเนติ ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 0-2579-5994, 0-2579-1022, 0-2942-8393, 0-2942-8379
โทรสาร 0-2942-8695
ข้าราชการสามารถเบิกค่าลงทะเบียนได้และไม่ถือเป็นวันลา ติดต่อรับใบเสร็จรับเงินในวันลงทะเบียน
ต้องการสำรองห้องพัก
ที่ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก (ห้องเดี่ยว 500 บาท ห้องคู่ 600 บาท ไม่มีอาหารเช้า)
ห้องเดี่ยว ห้องคู่  
พักกับ ...........................................................................................................................................
เข้าพักวันที่ .............................................................ออกวันที่ .......................................................
(เฉพาะผู้เข้าร่วมอบรมภาคบรรยายและปฏิบัติการเท่านั้น)

ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เลขที่ 50 พหลโยธิน เขตจตุจักร กทม. 10900
โทรศัพท์ 0-2579-1022, 0-2579-5994, 0-2942-8379,0-2742-8393 โทรสาร 0-2942-8695